เวบไซต์นั้น สำคัญไฉน ใครทำการค้า
จำเป็นต้องสร้างให้มี
 
เรียบเรียงโดย โอเอเวบมาร์เก็ตติ่ง
 
 
     
เมื่อประมาณ 10 กว่าปีที่แล้วเมื่อพูดถึงเรื่องเวบไซต์ (website) ต้องอธิบายกันเสียยืดยาว และจะต้องท้าวความไปถึงประโยชน์ที่จะได้ในอนาคตกันเสียมากมาย ปัจจุบันนี้เจนเนอเรชั่นคนรุ่นใหม่ๆ ในบ้านเรา นักธุรกิจ พ่อค้าแม่ค้า ห้างร้าน บริษัท องค์กร และหน่วยงานต่างๆ ฯลฯ ต่างมีความจำเป็นอันมากที่จะต้องเรียนรู้ให้เข้าใจถึงความสำคัญและจำเป็นที่ต้องมีเวบไซต์ เพื่อเป็นส่วนประกอบหนึ่งในการประชาสัมพันธ์ ข่าวสารต่างๆ ให้กับสมาชิกและลูกค้าของตนเอง
 
     
     
  ปัจจุบันเทคโนโลยีทางด้านไอทีในบ้านเรา เจริญรุดหน้าไปเป็นอันมาก จากความสามารถของเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่มีขนาดใหญ่ ได้ถูกย่อส่วนให้เล็กลง จนมีขนาดเพียงแค่มือถือเครื่องเล็กๆ โดยได้นำความสามารถและประสิทธิภาพที่มีของเครื่องคอมพิวเตอร์ ไปผสมผสานกับการใช้โทรศัพท์มือถือในชีวิตประจำวันได้อย่างลงตัวกลมกลืน ทำให้มีการแข่งขันพัฒนาโอเอส (เหมือนโอเอสบนเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ มินิคอมพิวเตอร์และเครื่องเมนเฟรมคอมพิวเตอร์) ที่จะนำมาใช้ควบคุมเครื่องมือเหล่านี้อย่างดุเดือด ซึ่งเราท่านก็รู้จักกันดีภายใต้ชื่อสมาร์ทโฟน (Smart Phone) และแทปเล็ต (Tablet) โดยมีโอเอสจากค่ายยักษ์ใหญ่ของโลก เช่น แอนดรอยด์ ผลิตโดย Google Inc, iOS ผลิตโดย Apple Inc. และ Windows ผลิตโดย Microsoft Inc. เป็นต้น เป็นผลให้มือถือแทบทุกเครื่อง แท็บเล็ต (Tablet) ทุกเครื่อง สามารถเข้าถึงเวบไซต์ได้ทุกที่ที่มีสัญญาณอินเตอร์เน็ตส่งไปถึง ทำให้กลุ่มลูกค้ากลุ่มนี้ขยายใหญ่ขึ้นมาทันตาเห็น เมื่อรวมกับกลุ่มผู้ใช้คอมพิวเตอร์เดิม ก็ถือได้ว่าเป็นกลุ่มที่มีการเสพสือที่เรียกว่า เวบไซต์ เป็นจำนวนมาก โดยกระจายอยู่ทั่วประเทศ  
     
     
  เวบไซต์ (website) คือ แหล่งที่เก็บรวบรวมข้อมูลเอกสารและสื่อประสมต่าง ๆ เช่น ภาพ เสียง ข้อความ วิดีโอ ของแต่ละบริษัทหรือหน่วยงานโดยเรียกเอกสารต่าง ๆ เหล่านี้ว่า เว็บเพจ (Web Page) และเรียกเว็บหน้าแรกของแต่ละเว็บไซต์ว่า โฮมเพจ (Home Page) หรืออาจกล่าวได้ว่า เว็บไซต์ก็คือเว็บเพจอย่างน้อยสองหน้าที่มีลิงก์ (Links) เชื่อมต่อถึงกัน ถือว่าเป็นสื่อโฆษณา ประชาสัมพันธ์ ที่ส่งไปได้กว้างไกล ไม่จำกัดเงือนเวลา ในราคาที่ต่ำที่สุด  
     
     
     
 
       
 
     
     
 
ความสำคัญ และประโยชน์ของเวบไซต์
 
     
 
ปัจจุบันจะเห็นได้ว่ากระแสโซเซียลมีเดีย (Social Media) ฟุ้งกระฉุดไปทุกย่อมหญ้าของสังคมไทย เข้าถึงทุกชนชั้น ทุกระดับอย่างครบวงจร  ซึ่งคงต้องยกความชอบนี้ให้กับเครื่องโทรศัพท์มือถือและระบบอินเตอร์เน็ต โดยเฉพาะระบบ 3G และระบบเน็ตเวิร์คไวไฟ (WIFI Network) ตามร้านกาแฟทั่วประเทศ เป็นผลพวงให้ผู้คนสามารถเข้าถึงข่าวสารต่างๆ ในเวบไซต์ได้อย่างรวดเร็วและทั่วถึง นี่คือยุคการตลาดราคาถูก ยุคสงครามแห่งข้อมูลข่าวสาร ที่ผู้ประกอบการทั้งรุ่นเก่ารุ่นใหม่ ไม่ควรที่จะละเลยเป็นอย่างยิ่ง
 
     
 
ไม่ว่าท่านจะเป็นเพียงผู้ค้า บริษัท ห้างร้าน หรือองค์กรต่างๆ เวบไซต์มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งสำหรับท่านดังนี้
 
     
 
1.
เวบไซต์เหมือนพนักงานต้อนรับคนหนึ่ง ที่จะคอยให้ข้อมูลข่าวสารต่างๆ กับผู้เข้ามาเยี่ยมชม ตลอดเวลา 24 ชั่วโมง เช้าจรด
 
เย็นทุกๆ วัน ตั้งแต่วันเสาร์ถึงวันอาทิตย์ แบบไม่หลับไม่นอน ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเตรียม จัดทำหน้าเวบไซต์ให้เป็นที่น่าสนใจ และมีข้อมูลอย่างครบถ้วน ตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการ
   
2.
เวบไซต์สามารถเป็นได้ถึงพนักงานขาย และแคชเชียร์สำหรับเก็บเงินค่าสินค้า ไปพร้อมๆ กัน เมื่อท่านจัดทำเวบไซต์เป็น
 
แบบShopping โดยสามารถใช้บริการรับชำระค่าสินค้าจากบัตรเครดิต หรือธนาคารออนไลน์ เช่น paypal.com เป็นต้น
   
3.
เมื่อมีการจัดการดาต้าเบส เพื่อนำมาใช้ร่วมกับการสร้างเวบไซต์ ตลอดจนการประยุกต์ให้สามารถใช้งานร่วมกับอีเมล์
 
หรือแม้แต่การส่งข่าวสารแบบ SMS (Short Message Service) ทำให้เวบไซต์แบบเดิมที่ไม่สามารถตอบโต้กับผู้เข้ามาเยี่ยมชมเวบไซต์ สามารถทำงานโต้ตอบกับผู้เข้ามาเยี่ยมชมเวบไซต์ได้ รวมทั้งสามารถที่จะพูดคุยตอบโต้สื่อสารแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ เช่น โปรแกรมสนทนา (Webboard), โปรแกรม Chat, โปรแกรมแบบฟอร์มกรอกข้อมูลต่างๆ ฯลฯ
   
4.
การจัดทำเวบไซต์ถือเป็นหน้าตา รูปร่างหรือตัวตนของ องค์กร บริษัท ห้างร้าน หรือบุคคลคนนั้น สามารถสร้างภาพพจน์ต่างๆ
 
ขึ้นมาได้จากความว่างเปล่าในโลกออนไลน์ โดยจะมีองค์กรต่างๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ที่จะรับลงทะเบียนเพื่อยืนยันตัวตนที่แท้จริง เช่น การจดทะเบียนชื่อเวบไซต์, การลงทะเบียนเวบไซต์กับกระทรวงพาณิชย์, การขอใบรับรอง CA (Certificate Authority) เป็นต้น ดังนั้นโดยเบื้องต้น จึงควรที่จะจดทะเบียนชื่อเวบไซต์ให้ถูกต้อง ดีกว่าที่จะไปใช้บริการจากเวบบล็อก, เวบฟรี Shopping, สื่อมิเดีย เช่น facebook.com, twitter.com, Google+ ฯลฯ โดยที่ไม่มีชื่อเวบไซต์เป็นของตัวเอง
   
5.
สื่อเวบไซต์ถือเป็นสื่อที่ราคาถูกที่สุดที่จะทำให้ท่านสามารถสร้างธุรกิจ จากขนาดเล็กๆ จนเติบใหญ่ได้ไม่ยาก
 
และปัจจุบันก็สามารถใส่เรื่องการตลาด ควบคู่กับสื่อข้อมูลในเวบไซต์ เป็นการทำการตลาดแบบผสมผสานกลมกลืน และลงตัวอย่างพอดิบพอดี ในราคาที่ถูกแสนถูก หรือจะนับได้ว่าฟรีเลยก็ว่าได้ หากรู้จักที่จะจัดการ โดยผ่านระบบโซเซียลมีเดียต่างๆ มากมาย เช่น facebook.com, twitter.com, Google+, Pinterest, Instagram, youtube.com ฯลฯ รวมทั้งโปรแกรมบริหารเวบไซต์ โปรแกรมการตลาด เช่น Google Adword, Google Analytics, ebay.com, amazon.com, Thefind.com, tarad.com ฯลฯ
   
6.
เวบไซต์ก็สามารถสร้างเป็นห่านทองคำได้ นับเป็นสิ่งที่ไม่น่าจะเป็นไปได้ เพราะเป็นการสร้างภาพขึ้นในอากาศที่ว่างเปล่า
 
ไม่มีตัวตน ไม่ต้องมีที่ดิน ไม่ต้องมีสิ่งก่อสร้าง ห้องแอร์ หรือแม้แต่พนักงานให้ปวดหัว ปัจจุบันมีผู้คนออนไลน์มากมายที่สร้างเวบไซต์ ให้เป็นเพียงเวบไซต์ให้บริการข้อมูลข่าวสาร เทคโนโลยี ขึ้นอยู่กับความสนใจของประชาชนชาวเน็ต ฯลฯ แบบให้บริการฟรีๆ แต่หาโฆษณาในรูปของแบนเนอร์ (Banner) หรือลิงค์โฆษณา มาแปะไว้ที่น่าเวบไซต์ เมื่อมีผู้เข้าเยี่ยมชม ก็จะได้รายได้ง่ายๆ จากค่าโฆษณาเหล่านี้ ตัวอย่างโฆษณาพวกนี้ได้แก่ Google Adsense, epom.com, รวมทั้งป้ายแบนเนอร์จากบริษัททั่วไปในบ้านเรา
   
7.
การจัดทำเวบไซต์สามารถจัดทำให้แสดงได้ทั้งบนเครื่องคอมพิวเตอร์และมือถือ โดยผ่านบราวเซอร์ (Browser) มากมาย
 
จากหลายค่าย เช่น Internet Exporer, Google Chrom, Dafari, Opera, Mozilla Firefox ฯลฯ แต่เนื่องจากบนมือถือ มีขนาดหน้าจอที่เล็กกว่าเครื่องคอมพิวเตอร์มาก จึงมีการเขียนโปรแกรมอีกลักษณะที่เรียกว่า แอพพลิเคชั่น (App:Application) หรือมักเรียกสั่นๆ ว่า "แอพ" (App) ซึ่งก็มีลักษณะเหมือนเวบไซต์เช่นกัน แต่จะแสดงผลอยู่บนโอเอสของมือถือ (Samart Phone) และเครื่องแทปเล็ต (Teblet) เท่านั้น โดยจะสามารถเข้าถึงผู้คนได้เป็นจำนวนมากเพิ่มขึ้น
   
8.
การสร้างเวบไซต์เพื่อบริการสมาชิก เช่น การบริการข่าวสารเฉพาะสมาชิก, eBook, วารสารออนไลน์ ฯลฯ โดยในเวบไซต์
 
จะสามารถเขียนโปรแกรม เพื่อป้องกันผู้เยี่ยมชมจากภายนอก โดยจะมีระบบ User Login ซึ่งผู้ที่เข้าเยี่ยมชมจะต้องมีชื่อผู้ใช้และรหัสผ่าน จึงจะสามารถเข้าไปดูข้อมูลได้
   
9.
ในบางครั้งถ้าข้อมูลในเวบไซต์มีความสำคัญอย่างสูง เช่น ข้อมูลบริษัท, ข้อมูลลูกค้า, ข้อมูลบัตรเครดิต ฯลฯ
 
หากไม่ต้องการให้เกิดการโจรกรรมข้อมูล เราสามารถนำเวบไซต์ที่สร้างขึ้นไปทำการขอจดทะเบียนขอใบรับรอง SSL (Secure Sockets Layer) เพื่อขอรหัสรับรองแล้วนำมาเข้ารหัสข้อมูลในเวบไซต์ เมื่อมีการโจรกรรมข้อมูลไป ข้อมูลที่ได้ก็จะเป็นเพียงข้อมูลขยะเท่านั้นเอง
   
10.
ปัจจุบันเราสามารถนำสื่อต่างๆ เช่น facebook.com, twitter.com, Google+, Pinterest, Instagram, youtube.com ฯลฯ
 
มารวมกัน เพื่อสร้างเป็นเวบไซต์ได้ ตลอดจนถึง รูปภาพเคลื่อนไหว, Flash Animation, โปรแกรมสไลด์ภาพ รวมทั้งการสรรค์สร้างงานเวบไซต์จากฟังก์ชั่นโปรแกรมต่างๆ มากมาย เช่น AJAX, JQuery, CSS, HTML5 ฯลฯ จึงทำให้เวบไซต์เป็นสิ่งที่น่าตื่นตาตื่นใจ มีลูกเล่นมากมาย เป็นที่น่าสนใจ และสร้างความบันเทิงต่อผู้ที่เข้าเยี่ยมชมเป็นอันมาก
   
11. เวบไซต์ธนาคารออนไลน์ เป็นเวบไซต์ที่มีความสำคัญมาก เพราะถือว่าเป็นเวบไซต์ที่ให้บริการชำระค่าสินค้าบนโลก
  อินเตอร์เน็ต ซึ่งโดยส่วนใหญ่ จะสามารถชำระได้โดยใช้บัตรเครดิต บัตรเดบิต ของธนาคารพาณิชย์ต่างๆ เช่น บริการธนาคารออนไลน์ paypal.com, บริการตัดบัตรเครดิตออนไล์กับธนาคารพาณิชย์ในไทย เป็นต้น ทั้งนี้ผู้สร้างเวบไซต์ต้องมีความรู้พอสมควร จึงจะสามารถสร้างเวบไซต์เพื่อผสานการทำงานของเวบไซต์ที่สร้างขึ้นกับเวบไซต์ธนาคารออนไลน์ได้
   
12. เวบไซต์ความบันเทิง เป็นอีกหนึ่งเวบไซต์ที่มีผู้สร้างขึ้นบนอินเตอร์เน็ตมากมายมหาศาล ทั้งเวบไซต์สำหรับ ฟังเพลง ดูหนัง ติวเตอร์
  การศึกษา เรียนรู้ บอกกล่าวประสบการณ์ต่างมากมาย เมื่อนำมาสร้างผสมผสานในเวบไซต์ที่สร้างขึ้น จะทำให้เวบไซต์ของเราน่าติดตามมากขึ้น
   
13. เราสามารถสร้างเวบไซต์เพื่อให้บริการดาวน์โหลด ข้อมูล ข่าวสาร กิจกรรม แคตตาล็อกสินค้า โบซัวร์ วิดีโอ ฯลฯ
  เพื่อตอบสนองและบริการให้กับลูกค้า ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น
   
14. สื่อเวบไซต์ถือเป็นสื่อโฆษณาที่ประหยัดที่สุด และสามารถส่งไปได้ไกลทั่วโลก คุ้มค่ากับการลงทุน เข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้ง่าย และรวดเร็ว
   
   
 
     
 
 
 
จะสร้างเวบไซต์ จำเป็นต้องมีอะไรบ้าง
 
     
 
การจัดทำเวบไซต์ มีขั้นตอนไม่ยุ่งยาก แต่หากไม่มีความรู้อาจจะต้องพึ่งพิงผู้รู้ เพื่อจะได้ช่วยปรึกษาหารือ เพื่อให้ง่ายในการจัดทำ และไม่ผิดเป้าหมายที่ได้ตั้งใจไว้ โดยจะขอแยกกล่าวเป็นขั้นตอนดังนี้
 
     
 
1.
จดทะเบียนชื่อเวบไซต์ ชื่อเวบไซต์นี้ก็คล้ายๆ กับชื่อบริษัท แต่ใช้เรียกขานกันบนอินเตอร์เน็ตแทน เช่น www.oaweb.com
 
เป็นต้น ในขั้นตอนแรกนี้ต้องตั้งชื่อเวบไซต์ให้มีความเกี่ยวข้องกับ กิจการของบริษัท ห้างร้าน องค์กร หรือสินค้าของเรา แนะนำให้ใช้ชื่อที่สั้นที่สุด จดจำ และสะกดได้ง่าย ซึ่งต้องไม่ซ้ำกับชื่อที่เคยจดทะเบียนไปแล้วบนอินเตอร์เน็ต สำหรับประเภทของชื่อเวบไซต์ก็สามารถแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ ชื่อเวบไซต์ภายในประเทศ และชื่อเวบไซต์สากล โดยจะแยกกันที่นามสกุลของชื่อเวบไซต์ เช่น ชื่อเวบไซต์ในประเทศจะมีนามสกุลเป็น .co.th, .in.th, .ac.th, .or.th ฯลฯ ส่วนชื่อเวบไซต์สากล จะมีนามสกุลเป็น .com, .net, .org, .biz, .co, .cc, .web, .tv ฯลฯ การเลือกจดทะเบียนชื่อเวบไซต์เป็นชื่อเวบไซต์สากลจะดีที่สุด เนื่องจากเป็นที่รู้จักของผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตทั่วโลก ทั้งนี้สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติม รวมทั้งเช็คชื่อเวบไซต์ที่ว่าง และสามารถจดทะเบียนชื่อเวบไซต์นั้นได้ที่เวบไซต์ www.keepdomain.com
   
2.
เช่าพื้นที่โฮสติ่ง หรือพื้นที่จัดเก็บเวบไซต์ พื้นที่ส่วนนี้เปรียบเสมือนห้องว่างๆ ที่ผู้ค้าขายเข้าไปขอเช่าในห้างสรรพสินค้า
 
เพื่อเตรียมตกแต่ง เป็นชั้นวางขายสินค้า มีขนาดให้เลือกมากมาย พร้อมบริการอีเมล์ เช่น พื้นที่ขนาด 10 GB เป็นต้น ซึ่งเมื่อเช่าพื้นที่ได้แล้ว ผู้เช่าก็จะได้กุญแจสำหรับเข้าไปในห้องเช่าพื้นที่ เพื่อเตรียมตกแต่งโยกย้ายสินค้าเข้าไปยังพื้นที่ที่เช่าเป็น รหัสผู้ใช้และรหัสผ่าน หรือที่เรียกกันว่า รหัสสำหรับ FTP (File Transfer Protocol) ทั้งนี้จะต้องชี้ค่า DNS (Domain Name System) ของชื่อเวบไซต์ที่จดทะเบียนไว้มายัง พื้นที่ที่ขอเช่าไว้ เพื่อที่เมื่อเรียกชื่อเวบไซต์ที่จดทะเบียนไว้นั้น ระะบบอินเตอร์จะได้รู้ว่าจะไปเรียกดูข้อมูลเวบไซต์จากพื้นที่เช่าที่ไหนมาโชว์บนบราวเซอร์ (Browser)ได้
   
3.
ออกแบบหน้าเวบไซต์ ในขั้นตอนนี้เปรียบเสมือน การตกแต่งห้องว่างที่เช่ามาให้ดูดีดูสวยงาม และจัดวางสินค้า
 
แต่ในการจัดทำเวบไซต์จะเป็นการ ออกแบบกราฟฟิค ใส่ข้อมูลบริษัท ข้อมูลสินค้า ข้อมูลการติดต่อกลับ และฟังก์ชั่นต่างๆ ที่ต้องการเพิ่มความสะดวกสะบายให้กับผู้ใช้งานเวบไซต์ อาจจะต้องเขียนโปรแกรม จัดทำดาต้าเบส เพื่อจัดเก็บข้อมูลบางอย่างที่ต้องการจากเวบไซต์หรือผู้เข้าเยี่ยมชม ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับลักษณะของเวบไซต์ที่เจ้าของเวบไซต์ต้องการนั่นเอง สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.oaweb.com และเวบไซต์ www.webmim.com
   
4.
การประชาสัมพันธ์เวบไซต์ ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนสุดท้าย คือการโฆษณาประชาสัมพันธุเวบไซต์ ให้เป็นที่รู้จักกันมากขึ้น
 
บนโลกอินเตอร์เน็ต หรือพูดง่ายๆ ก็คือการทำการตลาดนั่นเอง ที่จริงในขั้นตอนนี้อาจจะไม่ทำก็ได้ หากมีความต้องการเวบไซต์เพียงเพื่อใช้สำหรับบริการลูกค้าที่มีอยู่แล้ว และอีกอย่างหนึ่ง เมื่อใส่ข้อมูลต่างๆ ไว้ในเวบไซต์เรียบร้อยแล้ว บรรดาเวบไซต์ Search Engine เช่น google.com, yahoo.com ฯลฯ มักจะมีโปรแกรมระบบโรบ็อท (Robot Program) สืบเสาะหาเวบไซต์ใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นบนโลกอินเตอร์เน็ต มาเก็บสะสมไว้ในฐานข้อมูลของตัวเองอยู่แล้ว ซึ่งอาจจะต้องใช้เวลานิดหนึ่ง ที่สำคัญผู้จัดทำเวบไซต์ จะต้องใส่ข้อมูลของเวบไซต์ เช่น ชื่อเวบไซต์ (Title) รายละเอียดของเวบไซต์ (Description) และคำที่จะให้ค้นหา (keyword) เวบไซต์ของเรา ไว้ที่หน้าเวบไซต์ หรือที่เรียกกันว่า Meta Tag เตรียมไว้ให้เสียก่อน แต่ถ้าหากใจร้อน จะเข้าไปเพิ่มชื่อเวบไซต์เราไว้ในฐานข้อมูลของ Search Engine นั้นๆ ก็สามารถทำได้เช่นกัน เช่น ใช้บริการ Google Webmaster สำหรับเวบไซต์ google.com เป็นต้น
   
 
     
 
 
     
     
 
โดยสรุปแล้วเวบไซต์ถือว่าเป็นสิ่งที่สำคัญมาก จำเป็นต้องใช้สำหรับการประชาสัมพันธ์ สื่อสารหรือโฆษณา งานบริการ งานกิจกรรมต่างๆ รวมทั้งการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร การซื้อการขายสินค้าระหว่างกัน การทำธุรกรรมต่างๆ บนอินเตอร์เน็ต แถมยังสามารถสร้างเป็นความบันเทิงต่างๆ นานามากมาย เหนือสิ่งอื่นใด ถือว่าการสร้างเวบไซต์เป็นสื่อโษณาที่ประหยัดที่สุด ให้ผลที่คุ้มค่า ส่งไปได้กว้างไกลไปทั่วโลก ที่สำคัญเป็นไปอย่างรวดเร็ว สามารถเลือกกลุ่มลูกค้าที่ต้องการได้ หากรู้จักการทำการการตลาดที่ดี ณ.วันนี้พูดได้เต็มปากเต็มคำว่า สำคัญที่สุดสำหรับธุรกิจของคุณ ไม่มีไม่ได้
 
     
   
 
 

หน้าหลัก | สินค้าและบริการ | เช่าพื้นที่ทำเวบไซต์ | เช่าบริการอีเมล์ | ออกแบบเวบไซต์ | ติดต่อบริษัท | คู่มือใช้งาน  แจ้งชำระเงิน  เกี่ยวกับบริษัท

 
 

 
 
 
 

สงวนลิขสิทธิ์ โดย บริษัม โอเอเวบ มาร์เก็ตติ้ง จำกัด

 
 

47/1021 ถ.นิ มิตรใหม่ 40 แขวงสามวาตะวันออก เขตคลองสามวา กรุงเทพฯ 10510

 
 

E-Mail : sales@oaweb.com